ตำนาน ตะกรุด หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
ตะกรุดกรุดมงกุฎพระพุทธเจ้า หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม ตะกรุดอันดับต้นต้นของประเทศ ดูง่าย ลายมาตรฐาน สวยสมบูรณ์มาก ยาว 5 นิ้ว โตขนาดปากกา ลงรัก
สำหรับอักขระเลขยันต์ที่ท่านหลวงปู่ เอี่ยมวัดหนังใช้ลงในตะกรุดของ ท่านนั้นคือยันต์มงกุฏพระพุทธเจ้า เป็นยันต์ที่นับถือกันมาแต่โบราณ และ เป็นยันต์หนุนดวงชะตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อาราธนาตะกรุดนี้ติดตัวจะไม่มีการตกต่ำ ถ้าเวลาดวงตกให้ภาวนามงกุฏพระพุทธเจ้าวันละ ๑๘ จบ..... อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ.....อานุภาพของตระกรุด ยังสามารถป้องกันภยันอันตรายต่างๆ ทั้งภูติผีปีศาจและสัตว์ร้ายเมื่อตกอยู่ในอันตรายให้นึกถึง คุณพระรัตนตรัยและภาวนาพระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าภยันอันตรายจะไม่สามารถเข้า มากล้ำกลายได้
หลวงปู่อี่ยม ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่ล้นเกล้า รัชการลที่ 5 ให้ความเคารพอย่างยิ่งและเป็นผู้ที่ถวายถวายคำพยากรณ์ ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรปและหลวงปู่เอี่ยมท่านได้มอบคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ให้เพื่อใช้เสกหญ้าให้ม้าพยศกิน "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"
ฝรั่งจะลองดีร.5 ให้ปราบม้าฝรั่งดุร้ายขนาดดื่มเลือดมนุษย์
ดังเช่นเรื่องการกำราบสัตว์ร้าย เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอยู่ว่า ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ เสด็จประพาสยุโรป เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ โดยก่อนการเสด็จ สมเด็จพระสังฆราชปุสสเทโว ได้ถวายพระพร และแนะนำให้เสด็จไปอาราธนาพระอธิการเอี่ยมแห่งวัดหนัง เพื่อรับถวายคำพยากรณ์ และพระมงคลพุทธาคม ดังนั้นจึงเสด็จไปพบหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งได้ถวายพระพร และทรงทำนายว่าในการเสด็จครั้งนี้ พระราชกรณียกิจทั้งปวงจะสำเร็จลุล่วง แต่ในโอกาสหนึ่งพระองค์จะต้องทรงประทับขี่สัตว์จัตุรงคบาท อันชาตินิสัยที่ดุร้าย แต่ด้วยพระบุญญาธิการพระองค์จะทรงปลอดภัย หลวงปู่เอี่ยมจึงถวายพระคาถาบริกรรมเสกหญ้า เพื่อปราบสัตว์ แล้วพระองค์ก็ทรงเสด็จประพาสยุโรป เหตุการณ์ล่วงหน้าที่หลวงปู่เอี่ยมได้ถวายคำทำนายก็เกิดขึ้น คือในขณะทรงประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้มีเจ้าชายพระองค์หนึ่งเชิญเสด็จ เพื่อพระทอดเนตรการแข่งขันกีฬาโปโล และการขี่ม้าพยศ โดยในระหว่างการแสดงขี่ม้าพยศนั้น ได้มีม้าตัวหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่อีกทั้งพยศและดุร้าย ไม่มีผู้ใดสามารถบังคับขี่มันได้ เจ้าชายฝรั่งเศสองค์นั้นนั้งจึงทรงทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ว่า "ที่เมืองไทยนั้น มีม้าพยศดุร้ายอย่างนี้ไหม และมีคนไทยสามารถบังคับมันได้หรือ" พระองค์จึงตรัสว่า "ก็พอมีบ้าง" แล้วได้ทรงรำลึกถึงคำพยากรณ์ และพระพุทธาคมที่หลวงปู่เอี่ยมได้ทรงถวายจึงไม่ตรัสตอบแต่ประการใด แต่ทรงเสด็จลงจากแท่นประทับ แล้วตรัสให้จ๊อกกี้นำเจ้าม้าพยศนั้นมาใกล้ๆ แล้วพระองค์ทรงย่อพระวรกายลงหยิบหญ้า จากนั้นทรงตั้งจิตอธิษฐานบริกรรมพระคาถาที่หลวงปู่เอี่ยมได้สอนถวาย พลันยื่นกำหญ้านั้นให้เจ้าม้ากิน ม้าอ้าปากรับแล้วบดเคี้ยวแต่โดยดี พระองค์จึงตรัสขอบังเหียนในขณะที่เจ้าม้าพยศนั้นยังอยู่ในอาการที่ปกติ แล้วพระองค์ทรงขึ้นประทับบนหลังม้า แล้วบังคับให้มันออกวิ่งและเดินไปรอบๆ โดยมีชาวต่างชาติที่เข้าร่วมชมการแสดงในวันนั้นต่างโห่ร้องอย่างกึกก้อง ในพระบุญญาธิการของพระองค์ที่ทรงกำราบเจ้าม้าพยศตัวนั้นลงได้ เมื่อเสด็จกลับถึงประเทศไทย พระองค์ได้ไปสักการะหลวงปู่เอี่ยมที่วัดโคนอน ทรงตรัสเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทรงถวายของฝากต่างๆ
รวมสุดยอด เครื่องรางของขลัง ทุกอาจารย์ ทุกสำนัก เครื่องรางหายาก เครื่องรางยอดนิยม เครื่องรางราคาแพง
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กำเนิดความเป็นมา เครื่องรางของขลัง
กำเนิดความเป็นมา เครื่องรางของขลัง
หากจะพูดถึงเรื่อง เครื่องรางของขลัง เป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวาง ซึ่งในตำราพิชัยสงคราม กล่าวว่า เครื่องรางของขลัง ที่นักรบสมัยโบราณจะมีติดตัวเป็นมงคล ซื่งมีด้วยกันหลายชนิดและมีความเชื่อต่อ เครื่องรางของขลังนั้นๆและพระคณาจารย์เหล่านั้นอย่างมั่นคง จะเห็นได้จากการสืบทอดสรรพตำรา ตกทอดกันมาเนิ่นนานทีเดียว ซึ่งแบ่งออกไปตามประเภทย่อๆดังนี้
1. ความเป็นมาจากตามธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ซึ่งถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษา สิ่งนั้น ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือ กลวง เถาวัลย์ ฯลฯ
2. ส่วนของดีที่สร้างขึ้นมานั้น ได้แก่ สิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น แร่ธาตุ ต่างๆ ที่หล่อหลอมตามสูตร การเล่นแร่แปรธาตุ อันได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้คลุมไปถึง เครื่องราง ลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้นกันภัยอันตราย
การแบ่งตามการใช้ดังต่อไปนี้
1. เครื่องคาด อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ
2. เครื่องสวม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ
3. เครื่องฝัง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา (ใส่ลูกตา) และการฝังเหล็กไหล หรือ ฝังโลหะมงคล ต่างๆ ลงไปในเนื้อจะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น
4. เครื่องอม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้อมในปาก อาทิเช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม (สำหรับในข้อนี้ไม่รวมถึง การอม เครื่องราง ชนิด ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กไว้ในปากเพราะไม่เข้าชุด)
การแบ่งตามวัสดุดังนี้
1. โลหะ
2. ผง
3. ดิน
4. วัสดุอย่างอื่น อาทิ กระดาษสา ชันโรง ดินขุยปู
5. เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์
6. ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย
7. ผ้าทอทั่วๆไป
การแบ่งตามรูปแบบลักษณะดังนี้
1. ผู้ชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี พ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์ พระสีสแลงแงง และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ
2. ผู้หญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ศรีเรือน แม่ซื้อ แม่หม่อมกวัก เทพนางจันทร์ พระแม่ธรณี และสิ่งที่เป็นรูปของผู้หญิงต่างๆ
3. สัตว์ ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู ดังนี้เป็นต้น
การแบ่งตามระดับชั้น ดังนี้
1. เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย ซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
2. เครื่องรางชั้นต่ำ อันได้แก่ เครื่องราง ที่เป็นของต่ำ อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อ (แม่เป๋อ) ไอ้งั่ง (พ่องั่ง) ไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง
3. เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ธงรูปนก รูปตั๊กแตน รูปปลา หรือ กระบอกใส่ยันต์และอื่นๆ
เมื่อได้แบ่งแยกกันออกไป เป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ออกไปให้เห็นกันง่ายๆแล้ว ทีนี้ก็จะจะมาพูดถึงว่าเขาสร้างเครื่องรางกันทำไม เรื่องนี้อธิบายได้พอสังเขปก็แล้วกัน เรื่องก็มีอยู่ว่าเดิมทีนั้นโลกไม่มีศาสนาบังเกิดขึ้นมนุษย์ก็รู้จักกับปรากฏการณ์ของธรรมชาติเท่านั้น อาทิเช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และ ดาวตก หรือแม้กระทั่ง ไฟ ดังนั้น เมื่อเห็น พระอาทิตย์ มีแสงสว่างก็เคารพ แล้วเขียนภาพดวงอาทิตย์ไว้ในผนังถ้ำ เพื่อให้เกิด ความอบอุ่นใจในตอนกลางคืน เมื่อเขียนใส่ผนังถ้ำแล้วก็มาสลักลงบนหิน เพื่อติดตัวไปมาได้ ก็กลายเป็น เครื่องราง ไปโดยบังเอิญ และเมื่อรู้จักไฟก็คิดว่าไฟเป็นเทพเจ้า ก็บูชาไฟ ทำรูปดวงไฟ แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งประหลาด อาทิ นกที่มีรูปร่างประหลาด เป็นต้น ต่อมาก็สร้างรูปเคารพของเทพต่างๆ และค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จาก ประเทศ อียิปต์ กรีก โรมัน เพราะเป็นประเทศที่มี เครื่องราง มากมาย ดังนั้นเมื่อก่อนพุทธกาลราว 2,000 ปีเศษ ศาสนาพราหมณ์ ถือเอาพระผู้เป็นเจ้าเป็นสรณะก็บังเกิดขึ้น พระผู้เป็นเจ้านั้นก็คือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม และ เมื่อต้องการความสำเร็จผลใน สิ่งใด ก็มีการสวด อ้อนวอน อันเชิญ ขออำนาจของ เทพเจ้าทั้งสามให้มาบันดาลผลสำเร็จที่ต้องการนั้นๆ
การกระทำดังกล่าวนี้จำต้อง มีที่หมายทางใจ เพื่อความสำรวม ฉะนั้นภาพจำหลักของ เทพเจ้าทั้ง 3 ก็มีขึ้น จะเห็นได้จากรูปหะริหะระ ( HariHara ) แห่งประสาทอันเดต (Prasat Andet) ที่พิพิธภัณฑ์ เมืองพนมเปญ อันเป็นภาพจำหลักของ พระนารายณ์ ใน ศาสนาพราหมณ์ กับ เทวรูปมหาพรหม แห่ง พิพิธภัณฑ์กีเมต์ที่ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเอาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ในประเทศอินเดีย กาลต่อมาพระพุทธศาสนาก็บังเกิดขึ้นในโลก โดย พระบรมศาสดา (เจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นผู้ทรงค้นพบอมตะธรรมวิเศษ อันมีผู้เลื่อมใส่สักการะแล้วยึดเป็นสรณะ ดังนั้น พระพุทธองค์ ทรงมีพระสาวก ตามเสด็จ ประพฤติปฏิบัติมากมาย จนเป็นพระอสีติมหาสาวก ขึ้น ซึ่งท่านมหาสาวก เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงไว้ ความเป็นเอตทัลคะ ในด้านต่างๆกัน มี พระสารีบุตร ทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางปัญญา ส่วน พระโมคคัลลานะทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางอิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่สำเร็จญาณสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ย่อมแสดงอิทธิฤทธิ์ ได้หลายอย่าง เป็นอเนกประการ อิทธิฤทธิ์ เหล่านี้ เรียกว่า “อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นการกระทำที่สามัญชนไม่สามารถจะกระทำได้ ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ใน “พระไตรปิฎก” มากมาย และพระคณาจารย์เจ้า ผู้สำเร็จญาณสมาบัติ ท่านย่อมทรงไว้ซึ่งฤทธิ์
โดย ที่พระพุทธองค์ ผู้เป็นเจ้าของ “พุทธศาสนา” นั้น พระองค์ทรงไว้ด้วย พระคุณ 3 ประการ คือ 1. พระเมตตาคุณ 2. พระปัญญาคุณ 3.พระบริสุทธิคุณ
ดังนั้น พระเถรานุเถระผู้ทรงไว้ด้วย ญาณสมาบัติ ก็มักจะใช้ฤทธิ์ของท่านช่วยมนุษย์และสัตว์โลก ซึ่งถือเอาหลัก พระเมตตาคุณ เป็นการรอยพระยุคบาทแห่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระบรมศาสนา นั่นเอง
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่ถกเถียงกันมานานแสนนานทีเดียว แต่ลงรอยกันไม่ได้ นั่นก็คือคำว่า “เครื่องราง” กับ “เครื่องลาง” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า “เครื่องราง” อันหมายถึงเครื่องป้องกันภัยที่สำเร็จด้วยรางหรือร่อง แต่สำหรับ นักนิยมสะสม เครื่องราง ระดับสากลนิยมจะเรียกว่า “เครื่องลาง”
อันหมายถึง เครื่องที่ใช้เกี่ยวกับโชคลาง เพราะดั่งเดิมนั้น มนุษย์ ทำของเช่นนี้ ขึ้นมา เพื่อป้องกัน เหตุร้ายที่เรียกว่า “ลาง” ซึ่งเป็นลางดีและไม่ดี แต่ก็เอาละเมื่อเขียนว่า “เครื่องราง” ก็เอาตาม พจนานุกรมนั่นแหละ
ขอบคุณ itti-patihan
ตะกรุด |
หากจะพูดถึงเรื่อง เครื่องรางของขลัง เป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวาง ซึ่งในตำราพิชัยสงคราม กล่าวว่า เครื่องรางของขลัง ที่นักรบสมัยโบราณจะมีติดตัวเป็นมงคล ซื่งมีด้วยกันหลายชนิดและมีความเชื่อต่อ เครื่องรางของขลังนั้นๆและพระคณาจารย์เหล่านั้นอย่างมั่นคง จะเห็นได้จากการสืบทอดสรรพตำรา ตกทอดกันมาเนิ่นนานทีเดียว ซึ่งแบ่งออกไปตามประเภทย่อๆดังนี้
1. ความเป็นมาจากตามธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ซึ่งถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษา สิ่งนั้น ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือ กลวง เถาวัลย์ ฯลฯ
2. ส่วนของดีที่สร้างขึ้นมานั้น ได้แก่ สิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น แร่ธาตุ ต่างๆ ที่หล่อหลอมตามสูตร การเล่นแร่แปรธาตุ อันได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้คลุมไปถึง เครื่องราง ลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้นกันภัยอันตราย
เบี้ยแก้ |
1. เครื่องคาด อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ
2. เครื่องสวม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ
3. เครื่องฝัง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา (ใส่ลูกตา) และการฝังเหล็กไหล หรือ ฝังโลหะมงคล ต่างๆ ลงไปในเนื้อจะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น
4. เครื่องอม อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้อมในปาก อาทิเช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม (สำหรับในข้อนี้ไม่รวมถึง การอม เครื่องราง ชนิด ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กไว้ในปากเพราะไม่เข้าชุด)
การแบ่งตามวัสดุดังนี้
1. โลหะ
2. ผง
3. ดิน
4. วัสดุอย่างอื่น อาทิ กระดาษสา ชันโรง ดินขุยปู
5. เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์
6. ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย
7. ผ้าทอทั่วๆไป
การแบ่งตามรูปแบบลักษณะดังนี้
1. ผู้ชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี พ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์ พระสีสแลงแงง และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ
2. ผู้หญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ศรีเรือน แม่ซื้อ แม่หม่อมกวัก เทพนางจันทร์ พระแม่ธรณี และสิ่งที่เป็นรูปของผู้หญิงต่างๆ
3. สัตว์ ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู ดังนี้เป็นต้น
ปลัดขิก |
การแบ่งตามระดับชั้น ดังนี้
1. เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย ซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
2. เครื่องรางชั้นต่ำ อันได้แก่ เครื่องราง ที่เป็นของต่ำ อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อ (แม่เป๋อ) ไอ้งั่ง (พ่องั่ง) ไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง
3. เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ธงรูปนก รูปตั๊กแตน รูปปลา หรือ กระบอกใส่ยันต์และอื่นๆ
เมื่อได้แบ่งแยกกันออกไป เป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ออกไปให้เห็นกันง่ายๆแล้ว ทีนี้ก็จะจะมาพูดถึงว่าเขาสร้างเครื่องรางกันทำไม เรื่องนี้อธิบายได้พอสังเขปก็แล้วกัน เรื่องก็มีอยู่ว่าเดิมทีนั้นโลกไม่มีศาสนาบังเกิดขึ้นมนุษย์ก็รู้จักกับปรากฏการณ์ของธรรมชาติเท่านั้น อาทิเช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และ ดาวตก หรือแม้กระทั่ง ไฟ ดังนั้น เมื่อเห็น พระอาทิตย์ มีแสงสว่างก็เคารพ แล้วเขียนภาพดวงอาทิตย์ไว้ในผนังถ้ำ เพื่อให้เกิด ความอบอุ่นใจในตอนกลางคืน เมื่อเขียนใส่ผนังถ้ำแล้วก็มาสลักลงบนหิน เพื่อติดตัวไปมาได้ ก็กลายเป็น เครื่องราง ไปโดยบังเอิญ และเมื่อรู้จักไฟก็คิดว่าไฟเป็นเทพเจ้า ก็บูชาไฟ ทำรูปดวงไฟ แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นสิ่งประหลาด อาทิ นกที่มีรูปร่างประหลาด เป็นต้น ต่อมาก็สร้างรูปเคารพของเทพต่างๆ และค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จาก ประเทศ อียิปต์ กรีก โรมัน เพราะเป็นประเทศที่มี เครื่องราง มากมาย ดังนั้นเมื่อก่อนพุทธกาลราว 2,000 ปีเศษ ศาสนาพราหมณ์ ถือเอาพระผู้เป็นเจ้าเป็นสรณะก็บังเกิดขึ้น พระผู้เป็นเจ้านั้นก็คือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม และ เมื่อต้องการความสำเร็จผลใน สิ่งใด ก็มีการสวด อ้อนวอน อันเชิญ ขออำนาจของ เทพเจ้าทั้งสามให้มาบันดาลผลสำเร็จที่ต้องการนั้นๆ
เขี้ยวเสือ |
การกระทำดังกล่าวนี้จำต้อง มีที่หมายทางใจ เพื่อความสำรวม ฉะนั้นภาพจำหลักของ เทพเจ้าทั้ง 3 ก็มีขึ้น จะเห็นได้จากรูปหะริหะระ ( HariHara ) แห่งประสาทอันเดต (Prasat Andet) ที่พิพิธภัณฑ์ เมืองพนมเปญ อันเป็นภาพจำหลักของ พระนารายณ์ ใน ศาสนาพราหมณ์ กับ เทวรูปมหาพรหม แห่ง พิพิธภัณฑ์กีเมต์ที่ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเอาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ในประเทศอินเดีย กาลต่อมาพระพุทธศาสนาก็บังเกิดขึ้นในโลก โดย พระบรมศาสดา (เจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นผู้ทรงค้นพบอมตะธรรมวิเศษ อันมีผู้เลื่อมใส่สักการะแล้วยึดเป็นสรณะ ดังนั้น พระพุทธองค์ ทรงมีพระสาวก ตามเสด็จ ประพฤติปฏิบัติมากมาย จนเป็นพระอสีติมหาสาวก ขึ้น ซึ่งท่านมหาสาวก เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงไว้ ความเป็นเอตทัลคะ ในด้านต่างๆกัน มี พระสารีบุตร ทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางปัญญา ส่วน พระโมคคัลลานะทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางอิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่สำเร็จญาณสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ย่อมแสดงอิทธิฤทธิ์ ได้หลายอย่าง เป็นอเนกประการ อิทธิฤทธิ์ เหล่านี้ เรียกว่า “อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นการกระทำที่สามัญชนไม่สามารถจะกระทำได้ ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ใน “พระไตรปิฎก” มากมาย และพระคณาจารย์เจ้า ผู้สำเร็จญาณสมาบัติ ท่านย่อมทรงไว้ซึ่งฤทธิ์
โดย ที่พระพุทธองค์ ผู้เป็นเจ้าของ “พุทธศาสนา” นั้น พระองค์ทรงไว้ด้วย พระคุณ 3 ประการ คือ 1. พระเมตตาคุณ 2. พระปัญญาคุณ 3.พระบริสุทธิคุณ
ดังนั้น พระเถรานุเถระผู้ทรงไว้ด้วย ญาณสมาบัติ ก็มักจะใช้ฤทธิ์ของท่านช่วยมนุษย์และสัตว์โลก ซึ่งถือเอาหลัก พระเมตตาคุณ เป็นการรอยพระยุคบาทแห่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระบรมศาสนา นั่นเอง
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่ถกเถียงกันมานานแสนนานทีเดียว แต่ลงรอยกันไม่ได้ นั่นก็คือคำว่า “เครื่องราง” กับ “เครื่องลาง” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า “เครื่องราง” อันหมายถึงเครื่องป้องกันภัยที่สำเร็จด้วยรางหรือร่อง แต่สำหรับ นักนิยมสะสม เครื่องราง ระดับสากลนิยมจะเรียกว่า “เครื่องลาง”
อันหมายถึง เครื่องที่ใช้เกี่ยวกับโชคลาง เพราะดั่งเดิมนั้น มนุษย์ ทำของเช่นนี้ ขึ้นมา เพื่อป้องกัน เหตุร้ายที่เรียกว่า “ลาง” ซึ่งเป็นลางดีและไม่ดี แต่ก็เอาละเมื่อเขียนว่า “เครื่องราง” ก็เอาตาม พจนานุกรมนั่นแหละ
หนุมาน |
ขอบคุณ itti-patihan
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)